วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุป ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน บทที่ 1-8

สรุป ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน บทที่ 1-8 มีดังนี้
1.ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
3. ฃ่วยพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
4. สามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5. สามารถนำไปใช้ในการพัฒนางานธุรการและงานด้านต่างๆ ให้เป็นระบบ หมวดหมู่ สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการสืบค้น

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทคัดย่อ: การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ.

วรรณภา ขำละเอียด : การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. (AN ANALYSIS OF MULTILEVEL FACTORS AFFECTING THE KNOWLEDGE MANAGEMENT OF INSTRUCTORS IN FACULTY OF EDUCATION IN PUBLIC UNIVERSITIES) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : รศ.ดร.อวยพร เรืองตระกูล, 174 หน้า.


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะ ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ (2) วิเคราะห์ปัจจัยในระดับบุคคล ระดับภาควิชา และระดับมหาวิทยาลัย ที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ คณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 48 สถาบัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,205 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคคล ระดับภาควิชา และระดับมหาวิทยาลัย ด้วยโปรแกรมเอชแอลเอ็ม สรุปผลการวิจัยที่สำคัญได้ดังนี้

1) ผลการวิเคราะห์ระดับการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง
2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ตัวแปรที่มีนัยสำคัญในระดับบุคคลได้แก่ ความตระหนักในคุณค่าของการจัดการความรู้ ระดับภาควิชา ได้แก่ การจัดเวทีลกเปลี่ยนความรู้ และการสื่อสารกับบุคลากรทุกฝ่าย และระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารด้านการจัดการความรู้
3) ตัวแปรอิสระทุกระดับสามารถร่วมกันทำนายระดับการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้ร้อยละ 37.92 โดยตัวแปรระดับบุคคล ระดับภาควิชา และระดับมหาวิทยาลัย สามารถทำนายได้ร้อยละ 22.98 14.67 และ 0.27 ตามลำดับ

ภาควิชา วิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
ลายมือชื่อนิสิต
สาขาวิชา วิจัยการศึกษา
ลายมือชื่ออ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
ปีการศึกษา 2551

ประโยชน์: ทำให้ทราบถึงระดับการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐและปัจจัยในระดับบุคคล ระดับภาควิชา และระดับมหาวิทยาลัย ที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้บทที่ 6

ผลการเรียนรู้เรื่อง การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
1. ได้รับความรู้เรื่อง การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ บทเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ
ทั้งในลักษณะการเรียนการสอนบนเว็บ และลักษณะบทเรียนออนไลน์
2. ได้รับความรู้ในเรื่อง โมบายเลิร์นนิ่ง เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งทำให้การเรียนรู้สะดวก รวดเร็ว โดยสามารถส่งและรับข้อมูล
ที่เป็นภาพ เสียง มัลติมีเดีย และเวบไซด์
3. ได้รับความรู้เรื่อง ห้องสมุดเสมือน ซึ่งเป็นการทำงานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ผสมผสานกันกับการจัดการข้อมูล ทั้งข้อมูล
ในห้องสมุดและข้อมูลจากแหล่งความรู้อื่นๆ เป็นเสมือนประตูที่เปิดสู่ห้องสมุดหลายแห่งทั่วโลก

ผลการเรียนรู้บทที่ 5

ผลการเรียนรู้เรื่อง ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
1. ได้รับความรู้เรื่อง นวัตกรรม นวัตกรรมทางการศึกษา ทั้งในเรื่อง ประเภท ขอบข่าย และแนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา เช่น ในเรื่องความแกต่าง ระหว่างบุคคล ความพร้อม เป็นต้น
2. ได้รับความรู้เรื่อง การสร้างนวัตกรรมการศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ข้อคือ
(1) โครงสร้างองค์กร
(2) บุคลากร
(3) กระบวนการ
(4) กลยุธ์และยุทธวิธี
(5) เครื่งมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาซึ่งมีอยู่ 3 ระดับคือ
1. ความเป็นเลิศของบุคคล
2.ความเป็นเลิศของทีมงาน
3. ความเป็นเลิศขององค์กร
3. ได้รับความรู้เรื่อง หลักของนวัตกรรมการศึกษา การสร้างนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมทางด้านความคิดใหม่เป็นทุนทางปัญญา เพื่อให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการสร้าง กล่องความคิด ทุนทางสติปัญญา และการบริหารนวัตกรรม







ผลการเรียนรู้บทที่ 4

ผลการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
1. ได้รับความรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ ช่วยสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่สะดวก ก้าวหน้า และรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและการเมือง
2. ได้รับความรู้เรื่อง เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างสารสนเทศในเรื่องการจัดการข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญา ซึ่งในการจัดการความรู้จะทำให้กระบวนการทำงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการพัฒนาและกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรนั้น
3. ได้รับความรู้เรื่อง กลยุทธ์ กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์กลยุทธ์ และการนำกลยุทธ์ ไปปฏิบัติ ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าว จะต้องมีการวิเคราะห์
กลยุทธ์เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจทั้งปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก และรวมทั้งต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์
พันธกิจ และเป้าหมาย ให้ชัดเจน เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนา มีความก้าวหน้า คล่องตัว และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยอาศัยเครื่องมือทางการจัดการที่สำคัญ ได้แก่ Balanced Scorecard
4. ได้รับความรู้เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับ
ผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้วิธีการบริหารจัดการที่ดี และพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ผลการเรียนรู้บทที่ 3

ผลการเรียนรู้เรื่อง การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
1. ได้รับความรู้เรื่อง การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ ทั้งด้าน การวางแผน การตัดสินใจ และการดำเนินงาน
2. ได้รับความรู้เรื่อง ระดับการบริหารงานในองค์กร ซึ่งมี 3 ระดับ คือระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้นหรือระดับปฏิบัติการ และลักษณะการตัดสินใจของผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ
3. ได้รับความรู้เรื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร ซึ่งประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ 5 ระบบ ได้แก่ ระบบประมวลผลรายการ(TPS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) ระบบสารสนเทศสำนักงาน(OIS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS) และระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง(ESS)
รวมทั้งเรื่องการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 1

1. ได้รู้ความหมายของคำว่าข้อมูลสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ

2. คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี

3. โครงสร้างของระบบสารสนเทศ

4. การไหลเวียนของสารสนเทศ

5. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

6. บทบาทของสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา

7. ห้องสมุดเสมือน

8. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ

9. บทบาทของผู้บริหารต่อการพัฒนาการศึกษา